วันอาทิตย์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2553

การเขียนแบบ

หน่วยที่ 2
การเขียนแบบพื้นฐาน
การเขียนแบบ เป็นภาษากราฟิกซึ่งใช้เป็นภาษาสากลในวงการอุตสาหกรรมในการผลิต
ผลิตภัณฑ์สำหรับอารยธรรมสมัยใหม่ การเขียนแบบเป็นระบบสร้างภาพเพื่อถ่ายทอดแบบที่อยู่ใน
ความคิด หรือเพื่อช่วยเสริมให้การใช้คู่มือแนะนำการประกอบติดตั้งมีความถูกต้องแม่นยำ
งานเขียนแบบมีบทบาทสำคัญมาแต่อดีตกาลจนถึงปัจจุบัน อาชีพงานเขียนแบบได้แตกแขนง
ออกไปอย่างมากมาย จนสามารถกำหนดเป็นลักษณะวิชาชีพงานเขียนแบบได้ เช่น ช่างเขียนแบบ
เครื่องกล ช่างเขียนแบบสถาปัตยกรรม ช่างเขียนแบบไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น
ความสำคัญของงานเขียนแบบ
ทุกวันนี้การเขียนแบบได้รับการยอมรับให้เป็นสื่อในการติดต่อที่ใช้ในหมู่นักวิทยาศาสตร์
วิศวกร นักออกแบบ ช่างเทคนิคและคนงานที่เกี่ยวกับการผลิต ไม่ว่าเขาเหล่านี้จะมีภาระหน้าที่
โดยตรงเกี่ยวกับอะไรก็ตาม พวกเขาก็ต้องสามารถสเกตซ์ หรือเขียนแบบ หรือต้องสามารถอ่านแบบ
ออก โดยปกติความคิดจะเริ่มต้นจากภาพสเกตซ์อย่างหยาบๆ จากนั้นจึงค่อยๆ ขัดเกลาภาพสเกตซ์
ดังกล่าว จนกระทั่งกายเป็นแบบที่ประณีตสมบูรณ์
วิธีการเขียนแบบ
วิธีการเขียนโดยทั่วๆ ไป มีอยู่ 2 วิธีคือ
1. วิธีการเขียนด้วยมือเปล่า (Freehand Sketching)
การเขียนด้วยมือเปล่า หรือการเขียนโดยไม่ใช้เครื่องมือที่เรียกว่า แบบร่าง หรือภาพสเกตซ์
(Freehand Sketching) เป็นการเขียนแบบร่างง่ายๆ ที่ออกมาตามความคิดหรือจินตนาการของ
ผู้ออกแบบ เพื่อเป็นต้นแบบในการปรับปรุง ทดลอง และแก้ไข หรือเป็นต้นแบบเพื่อจะเขียนให้
เรียบร้อยถูกต้องอีกครั้งหนึ่ง
2. การเขียนแบบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ (Instrument Drawing)
การเขียนแบบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์ เป็นการนำแบบที่เขียนด้วยแบบร่างหรือภาพ
สเกตซ์มาเขียนเป็นแบบเทคนิคให้ถูกต้องตามมาตรฐาน มีความสวยงาม และอ่านแบบได้ง่าย การผลิต
เป็นไปตามลำดับขั้นของแบบงาน การเขียนแบบด้วยเครื่องมือและอุปกรณ์นี้จะเขียนเป็นภาพสามมิติ
ภาพฉาย หรือภาพอื่นๆ ตามจุดประสงค์ของงานแต่ละสาขา ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้ออกแบบที่จะทำการ
กำหนดรายละเอียด และจุดประสงค์ของงานที่ต้องการ
40
เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
ในการศึกษาวิชาเขียนแบบไม่ว่าจะเป็นแขนงวิชาชีพใดก็ตาม การฝึกฝนการใช้เครื่องมือและ
อุปกรณ์เขียนแบบนับว่าเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง การใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ถูกวิธีนั้นเป็นพื้นฐาน
สำคัญของการทำงานเขียนแบบ เพราะการศึกษาและฝึกฝนการใช้อย่างถูกวิธีนี้ จะทำให้เขียนแบบได้
รวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เครื่องมือและอุปกรณ์ในงานเขียนแบบที่ใช้กันอยู่โดยทั่วไป มี
ดังนี้
รูปที่ 2.1 เครื่องมือและอุปกรณ์เขียนแบบ
1. โต๊ะเขียนแบบ มีส่วนประกอบที่สำคัญคือ โครงโต๊ะกับพื้นกระดานรองกระดาษเขียนแบบ
หรือพื้นโต๊ะ ซึ่งมีหลายขนาดตามความเหมาะสม โต๊ะเขียนแบบที่สมบูรณ์จะประกอบไปด้วยอุปกรณ์
ช่วยเขียน ประกอบติดไว้กับโต๊ะเพื่อช่วยให้เขียนแบบได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น
รูปที่ 2.2 โต๊ะเขียนแบบ
41
2. กระดานเขียนแบบ กระดานเขียนแบบอาจจะทำขึ้นใช้เองอย่างง่าย ๆ เช่น ใช้ไม้อัดตัดให้ได้
ขนาด หรือแผ่นไม้มาอัดเข้าลิ้นชนกัน กระดานต้องได้มุมฉาก ควรมีกรอบไม้ปิดหัวไม้ หรือแผ่น
โลหะปิด พื้นด้านบนกระดานเขียนแบบต้องเรียบ ขนาดกระดาน 9” × 12” , 16” × 21” , 18” × 24”
หรือขนาดตามที่ออกแบบเพื่อใช้เฉพาะ
รูปที่ 2.3 กระดานเขียนแบบและไม้ที
3. บรรทัดเขียนเส้นแนวนอนหรือไม้ที ( T-square ) มีลักษณะคล้ายตัวอักษร T ขนาดความ
ยาวด้านใช้งานมีความยาว 60 ซม. 90 ซม. และ 120 ซม. ด้วยไม้ หรือพลาสติก ส่วนหัวมีไว้จับ
กับขอบพื้นโต๊ะเขียนแบบหรือกระดานเขียนแบบทางด้านซ้ายมือ เวลาใช้ต้องให้แนบสนิท ใช้เลื่อน
ขึ้นลงตามขอบโต๊ะเพื่อขีดเส้นแนวนอน บรรทัดทีนี้ได้พัฒนาขึ้นอีกรูปแบบหนึ่งโดยไม่มีหัวจับ
ทางด้านซ้ายมือ แต่จะใช้เชือกหรือเอ็นขึงกับขอบโต๊ะแล้วมีล้อเลื่อนติดกับตัวบรรทัด เพื่อเลื่อนขึ้นลง
ได้เรียกว่า “ไม้ทีเลื่อน” (T -Slide) ไม้ทีนี้นอกจากใช้ได้อิสระในตัวมันเองแล้ว ยังใช้ประกอบกับ
บรรทัดสามเหลี่ยม (Set Square) ช่วยในการเขียนเส้นดิ่งและเส้นแนวเฉียงต่างๆ ได้อีกด้วย
รูปที่ 2.4 ไม้ทีและไม้ทีเลื่อน
42
4. บรรทัดสามเหลี่ยม (Set Square) เป็นบรรทัดที่ออกแบบมาเพื่อใช้ในการเขียนเส้นแนวดิ่ง
และแนวเฉียง มีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภท คือ
4.1 ประเภทมุมคงที่ ในชุดหนึ่งจะมี 2 ชิ้น คือ สามเหลี่ยมมุมฉากมุม 30° 60°
90° กับอีกชิ้นหนึ่งเป็นมุม 45° 45° 90° ส่วนตรงกลางของบรรทัดจะเจาะเป็นเป็นรัศมีต่าง ๆ
(Irregular Curves) เพื่อใช้ประโยชน์ในการเขียนเส้นโค้ง
4.2 ประเภทปรับมุมได้ จะเป็นลักษณะรูปสามเหลี่ยมมุมฉากชิ้นเดียวมีจุดหมุนอยู่ที่
ส่วนกลางของฉากเพื่อปรับให้เขียนมุมต่างๆ ได้
รูปที่ 2.5 บรรทัดสามเหลี่ยม
5. ดินสอเขียนแบบ ใช้สำหรับขีดหรือเขียนเส้นต่างๆ เช่นเส้นหนัก เส้นเบา เส้นบาง ชนิด
ของเส้น การสเกทซ์หรือพื้นผิวหน้าของกระดาษ ซึ่งมีความเข้ม เบาตามลักษณะของงาน โดยมีการ
แบ่งเกรดความเข้มของแกนดินสอออกเป็น 17 เกรด ซึ่งเกรดที่มีความแข็งมากจะให้สีที่อ่อน ส่วน
เกรดที่มีความอ่อนจะให้สีที่เข้ม ดังนี้ เกรดอ่อน B , 2B , 3B , 4B , 5B , 6B เกรดอ่อนปานกลาง HB
เกรดปานกลาง F เกรดแข็ง H , 2H , 3H , 4H , 5H , 6H , 7H , 8H , 9 H
ดินสอที่ใช้เขียนแบบมีทั้งชนิดที่ต้องเหลาด้วยมีดหรือกบเหลาดินสอ และชนิดที่ไม่ต้องเหลา
ซึ่งสามารถเปลี่ยนไส้ดินสอได้
รูปที่ 2.6 ดินสอเขียนแบบชนิดเปลี่ยนไส้
43
6. ยางลบดินสอ ยางลบต้องใช้ชนิดอ่อน เพื่อใช้ลบทำความสะอาดเส้นดินสอ หรือผิวหน้า
กระดาษ การเลือกใช้ยางลบต้องมีการเลือกใช้ให้เหมาะกับงาน ลักษณะของยางลบอาจเป็นรูปสี่เหลี่ยม
ขนาน สี่เหลี่ยมปลายเฉียง หรือแบบแกนดินสอ
7. วงเวียน เป็นอุปกรณ์ที่นอกจากใช้ในการเขียนเส้นรอบวงของวงกลม และส่วนโค้งต่างๆ
แล้ว ยังสามารถใช้ในการถ่ายขนาดระยะต่างๆ ได้อีกด้วย ขนาดของวงเวียนมีหลายขนาดให้เลือกใช้
ได้ตามความต้องการ
รูปที่ 2.7 การใช้วงเวียนถ่ายขนาด
รูปที่ 2.8 การใช้วงเวียนเขียนเส้นรอบวง
44
8. บรรทัดเขียนส่วนโค้ง (Irregular Curves) เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการเขียนรูปโค้งต่างๆ
ที่ไม่สามารถหาจุดศูนย์กลางเพื่อใช้วงเวียนเขียนได้ ซึ่งจำเป็นต้องเขียนส่วนโค้งนั้นให้สัมผัสกันทุกจุด
และจุดที่กำหนดให้มีมากมาย จึงจำเป็นต้องหาเครื่องมือที่ช่วยให้เขียนได้ง่ายขึ้น บรรทัดเขียนส่วน
โค้งมีมากมายหลายแบบให้เลือกใช้
รูปที่ 2.9 บรรทัดเขียนส่วนโค้งต่างๆ
รูปที่ 2.10 การใช้บรรทัดเขียนส่วนโค้ง
9. กระดูกงู (Flexible curves) จะมีลักษณะเป็นเส้นยาวๆ ขอบนอกทำด้วยพลาสติกภายใน
เป็นโลหะที่โค้งงอได้โดยไม่หัก อาจจะเป็นตะกั่วหรือวัสดุอื่นที่คงที่ในขณะดัดโค้งและสามารถปรับ
ได้ทุกระยะตามรัศมีหรือส่วนโค้งที่ต้องการเขียน ใช้สำหรับเขียนส่วนโค้งที่ยาวๆ ซึ่งไม่สามารถเขียน
ด้วยบรรทัดโค้ง หรือวงเวียนได้
45
รูปที่ 2.11 กระดูกงู
10. บรรทัดสเกล เป็นอุปกรณ์ที่มีมาตราส่วนช่วยในการย่อขนาดมาตราส่วนของแบบที่มี
ขนาดใหญ่ให้เป็นแบบขนาดเล็ก มีขนาดย่อได้ดังนี้คือ 1 : 2 ( 1 : 20 ), 1 : 2.5 ( 1 : 25 ), 1 : 5 ( 1 : 50 ),
1 : 7.5 ( 1 : 75 ), 1 : 10 ( 1 : 100 ), และ 1 : 12.5 ( 1 : 125 )
รูปที่ 2.12 บรรทัดสเกล
11. กระดาษเขียนแบบ
กระดาษเขียนแบบทำด้วยวัสดุแตกต่างกัน สีของกระดาษเป็นสีขาว หรือสีหม่น ความหนา
กำหนดเป็นแกรม เช่น 80 , 90 , 100 , 120 แกรม ขนาดของกระดาษเขียนแบบที่บอกเป็นตัวอักษรคือ
A ,B, C, D,E มีขนาดดังนี้
ขนาด A เท่ากับ 8½” × 11” หรือ 9” × 12”
ขนาด B เท่ากับ 11” × 17” หรือ 12” × 18”
ขนาด C เท่ากับ 17” × 22” หรือ 18” × 24”
ขนาด D เท่ากับ 22” × 34” หรือ 24” × 36”
ขนาด E เท่ากับ 34” × 44” หรือ 36” × 48”
46
มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเรื่องขนาดกระดาษเขียนแบบ ตาม มอก. 210-2520 ได้
แบ่งกระดาษเขียนแบบเป็นมิลลิเมตร มีขนาดมาตรฐาน A0 - A6
(ก) การแบ่งขนาดกระดาษเขียนแบบ A0 ถึง A6 (ข) ขนาดการตัดกระดาษเขียนแบบ
ฟอร์มกระดาษ A 0
นอกจากที่ได้กล่าวมาแล้ว ยังมีเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ช่วยในงานเขียนแบบอีกมาก ได้แก่ เทป
ติดกระดาษ แปรงปัดเศษยางลบ บรรทัดปรับองศา เพลทเขียนรูปลักษณะต่าง ๆ แผ่นกั้นลบ แผ่นร่อง
เขียนตัวอักษร ยางลบหมึก ปากกาสำหรับเขียนแบบ ซึ่งล้วนเป็นอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในการ
เขียนแบบ และบางชนิดก็เป็นอุปกรณ์เฉพาะของช่างเขียนแบบแขนงต่าง ๆ
การเขียนแบบตัวอักษรและมาตราส่วน
ในงานเขียนแบบ รายละเอียดต่างๆ ที่เขียนกำหนด เช่น ขนาดของมิติต่างๆ คำอธิบายเพิ่มเติม
ตารางรายการ จำเป็นต้องเขียนรายละเอียด ที่เป็นคำอธิบายประกอบ ในการเขียนรูปแบบของตัวอักษร
นั้น ไม่มีกฎเกณฑ์แน่นอนขึ้นอยู่กับผู้เขียน จะเลือกใช้ให้เหมาะสม
1. ตัวอักษรภาษาไทย
รูปแบบลักษณะของตัวอักษรได้มีการพัฒนาให้มีรูปแบบที่สวยงามและเหมาะสมกับงาน ซึ่ง
สามารถจะแบ่งลักษณะรูปแบบตัวอักษรออกได้เป็น 2 รูปแบบ คือ
1. ชนิดหัวเหลี่ยม ลักษณะหัวตัวอักษรจะเป็นหัวรูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มุมป้าน
นิยมใช้เขียนใบประกาศนียบัตร ปริญญาบัตร กำหนดข้อความต่างๆ ในแบบส่วนใหญ่จะเขียนโดยไม่
มีอุปกรณ์ช่วยในการเขียน หรือเขียนโดยใช้มือเปล่า
2. ชนิดหัวกลม ลักษณะหัวของตัวอักษรจะกลม โปร่ง ดูแล้วให้ความแข็งแรงมั่นคง
และมีความสวยงาม ใช้กับงานเขียนในราชการทั่วไป ในปัจจุบันนี้มีบรรทัดร่องช่วยให้เขียนเร็วขึ้น
และสามารถเขียนด้วยมือเปล่าได้
ฟอร์มกระดาษ
วัดเป็นมิลลิเมตร
A0
841 × 1189
A1
594 × 841
A2
420 × 594
A3
297 × 420
A4
210 × 297
A5
148 × 210
A6
105 × 148
เป็นขนาดไปรษณียบัตร A6
A 2
A 4
A6
A 1
A5
A 3
47
รูปที่ 2.13 ตัวอักษรชนิดหัวเหลี่ยม
รูปที่ 2.14 ตัวอักษรชนิดหัวกลม
2. ตัวอักษรภาษาอังกฤษ
ตัวอักษรภาษาอังกฤษและเลขอารบิก เป็นที่นิยมใช้ในงานเขียนเพราะเป็นภาษาสากล ในการ
เขียนรูปแบบ ตัวอักษรภาษาอังกฤษที่ใช้ในงานเขียนแบบ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
2.1 แบบมาตรฐานสากลตัวตรง
เป็นแบบที่กำหนดขึ้นโดยเจ้าของภาษาเช่นเดียวกับภาษาไทย มีมาตรฐานกำหนด
ในการลากเส้นของแต่ละตัวอักษรไว้เพื่อฝึกปฏิบัติ หรือฝึกหัดเขียนสำหรับผู้เริ่มต้นศึกษาภาษาอังกฤษ
48
รูปที่ 2.15 รูปแบบมาตราฐานภาษาอังกฤษตัวตรง
2.2 แบบมาตรฐานสากลตัวเอียง
จะมีลักษณะของเส้นตัวอักษรเอียงไปทางด้านหลัง 15 องศากับแนวดิ่ง หรือ 75
องศากับแนวระดับ
รูปที่ 2.16 รูปแบบมาตรฐานภาษาอังกฤษตัวเอียง
การเขียนตัวอักษร
การเขียนตัวอักษรและตัวเลข มีวิธีการเขียนลงในแบบงาน 3 วิธีคือ
1. การเขียนด้วยมือเปล่า
การเขียนด้วยมือเปล่า นั้น การที่จะเขียนให้สวยงามได้นั้นต้องฝึกฝน หรือหัดเขียน
เป็นเวลานานพอสมควร หรือเป็นผู้ที่มีลายมือในการเขียนสวยงามอยู่แล้ว จะฝึกได้รวดเร็วขึ้น
49
2. ใช้แผ่นตัวอักษรลอกหรือขูด
ใช้แผ่นตัวอักษรลอกหรือขูด เป็นตัวอักษรสำเร็จที่รวมอยู่ในแผ่นเดียวกัน เมื่อจะ
ใช้เขียนต้องมาผสมคำเอง โดยนำแผ่นตัวอักษรวางบนแผ่นร่างหรือแบบที่ต้องการเขียน แล้วใช้ดินสอ
ปากกา หรืออุปกรณ์อื่นๆ ช่วยขูดให้ตัวอักษรติดลงบนแบบ
รูปที่ 2.17 แบบตัวอักษรลอกแบบต่างๆ
3. ใช้แผ่นร่องนำเขียนตัวอักษรและเครื่องช่วยเขียนตัวอักษร
แผ่นร่องนำเขียนตัวอักษร มีลักษณะเป็นร่องตามตัวอักษรมีทั้งภาษาไทยและอังกฤษ
ใช้ประกอบกับเครื่องช่วยเขียน
รูปที่ 2.18 การเขียนตัวอักษรด้วยเครื่องช่วยเขียน
มาตราส่วน
มาตราส่วนเป็นสัดส่วนของแบบงานกับงานจริง เนื่องจากมีความจำเป็นต้องมีการย่อส่วน เมื่อ
งานนั้นใหญ่เกินไปไม่สามารถเขียนลงในกระดาษเขียนแบบ ได้ เรียกว่า “มาตราส่วนย่อ” และถ้างาน
เล็กเกินไปไม่สามารถอ่านและเขียนแบบได้ ต้องทำการขยายเพื่อให้อ่านและเขียนแบบได้ง่ายขึ้น
เรียกว่า “มาตราส่วนขยาย”
50
การใช้มาตราส่วนปกติมีอยู่ 3 ลักษณะคือ การย่อขนาด ขยายขนาด และมาตราส่วนเท่าของ
จริง การที่จะย่อขนาดหรือขายขนาดมากน้อยเพียงใดนั้น จะต้องพิจารณาตามความเหมาะสมของ
ขนาดกระดาษเขียนแบบที่ใช้ และความสวยงามของแบบที่ออกมา
มาตราส่วนมาตรฐานที่ใช้ในการเขียนแบบ
มาตราส่วนปกติ (Full Scale) 1:1
มาตราส่วนย่อ (Brief Scale) 1:2, 1:2.5, 1:5, 1:10, 1:20, 1:50, 1:100, 1:200,
1:500, และ 1:1000 ฯลฯ
มาตราส่วนขยาย (Extended Scale) 2:1, 2.5:1, 5:1, 10:1, 20:1, 50:1 100:1, 200:1,
500:1, และ 1000:1 ฯลฯ
หลักสังเกตการอ่านมาตราส่วน แบบทุกแบบต้องกำหนดมาตราส่วนดังนี้ ตัวเลขที่เขียน
นำหน้า : ตัวเลขหลัง คือ ขนาดที่เขียนลงในแบบ : ขนาดชิ้นงานจริง ดังตัวอย่าง
ตารางที่ 2.1 แสดงการใช้มาตราส่วน
รูปแบบ
การเขียนและอ่าน
คำอธิบาย
มาตราส่วนเท่าของจริง
1 :1
ขนาดต่างๆ ที่วัดได้จากของจริง เช่น
ความกว้าง ยาว สูง วัดขนาดได้เท่าใด
หนึ่ง ต่อ หนึ่ง เขียนเท่าทวีั่ดขนาดได

ตัวอย่าง ชิ้นงานมีความยาว 60 ม.ม.
เขียนแบบใช้ความยาว 60ม.ม.
มาตราส่วนย่อ
1 :2
แบบที่มีขนาดใหญ่ ไม่สามารถเขียนลง
กระดาษแบบได้ต้องย่อให้มีขนาดเล็ก
ลงแต่ต้องให้แบบที่ชัดเจนเหมาะสมกับ
หน้ากระดาษ
หนึ่ง ต่อ สอง
ตัวอย่าง ชิ้นงานจริงมีความยาว 60ม.ม.
ด้วยมาตราส่วน 1 : 2 ความยาวที่เขียน
แบบเท่ากับ 30 ม.ม. เขียนกำหนดขนาด
เป็น 60 ม.ม.
51
มาตราส่วนขยาย
2 :1 (5 :1)
งานบางแบบเล็กเกินไปไม่สามารถ
เขียนรายละเอียดได้ครบถ้วน จึงต้อง
เขียนแบบขยายเพื่อให้เห็นรายละเอียด
ได้ครบถ้วน จึงต้องเขียนแบบให้ใหญ่
กว่างานจริง
ตัวอย่าง งานจริงยาว 10 ม.ม. เมื่อเขียน
แบบขยาย 5 : 1 จะต้องเขียนความยาว
ในแบบงานเท่ากับ 50 ม.ม. แต่การ
เขียนขนาดเขียนเท่ากับ 10 ม.ม.
เส้นในงานเขียนแบบ
ในการเขียนแบบนั้น ผู้เขียนแบบมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเข้าใจความหมายของเส้นที่ใช้
ในการเขียน เส้นที่เขียนรูปแบบเส้นหนึ่งๆ นั้นใช้แทนความหมายเพียงความหมายเดียว หรือหลาย
ความหมายก็ได้ แต่ต้องสื่อความหมายให้ผู้อ่านแบบ อ่านแบบแล้วเข้าใจความหมายของแบบได้ถูกต้อง
และมีความหมายเดียวกัน เพื่อนำไปผลิตชิ้นงานได้ถูกต้อง
ตารางที่ 2.2 แสดงความหมายของเส้นที่ใช้ในงานเขียนแบบ
ลำดับ
ชื่อเส้น
ความหนา
เกรดดินสอ
ความหมาย
1
เส้นเต็มหนัก
(เส้นเต็มหนา)
0.5
B,HB,F
- เส้นขอบรูปที่มองเห็นได้ชัดเจน
- เส้นขอบรูปของเกลียว (เส้นผ่าศูนย์กลาง
ยอดเกลียว)
- เส้นขอบเนื้อที่ที่ใช้เขียนแบบ
2
เส้นเต็มเบา
(เส้นเต็มบาง)
0.25
H,2H
- เส้นร่างแบบ
- เส้นให้ขนาด (เส้นกำหนดขนาด)
- เส้นช่วยให้ขนาด
- เส้นแสดงภาคตัดเนื้อชิ้นงาน
- เส้นแสดงโคนเกลียว
(เส้นผ่าศูนย์กลางโคนเกลียว)
3
เส้นประ
0.35
F,HB
H,2H
- เส้นขอบรูปที่ถูกบัง หรือเส้นที่มองไม่
เห็น
- เส้นที่อยู่ด้านในของวัตถุ
52
4
เส้นศูนย์กลางเล็ก
0.25
H,2H
- เส้นผ่านศูนย์กลางของชิ้นงาน, วงกลม
- เส้นแสดงรูปทรงลักษณะเดิมของชิ้นงาน
- วงล้อมรอบส่วนที่แสดงภาพขยาย
- เส้นของส่วนที่ต้องทำเพิ่มเติม
- ขอบเขตที่จะขยายแสดงรายละเอียด
5
เส้นศูนย์กลางใหญ่
0.5
B,HB,F
- เส้นแสดงแนวที่ถูกตัด (เส้นตัด)
6
เส้นเขียนด้วยมือเปล่า
0.25
H,2H
- เส้นแสดงแนวตัดแตกส่วนในการเขียน
ภาพตัด
- เส้นรอยตัดย่อส่วนของงานที่มีขนาดยาว
- เส้นสเกตซ์แบบ
การเขียนรูปทางเรขาคณิต
วิชาเขียนแบบเป็นเรื่องที่ว่าด้วยการเขียนเส้นให้มีรูปร่างตามต้องการอย่างมีระบบและวิธีการที่
แน่นอน วิชาเรขาคณิตก็เป็นอีกวิชาหนึ่งที่ว่าด้วยเรื่องของการสร้างเส้นอย่างมีกฎเกณฑ์ที่พิสูจน์ได้ว่า
ถูกต้อง งานเขียนแบบถ้าจะสร้างเส้นด้วยเครื่องมือที่มีอยู่วิธีเดียวบางทีอาจทำได้ยาก ดังนั้น ถ้านำเอา
วิธีการทางเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้กับงานเขียนแบบก็จะทำให้งานเขียนแบบทำได้สะดวกรวดเร็ว
ยิ่งขึ้น การสร้างเส้นตามวิธีเรขาคณิตที่ควรทราบคือ
1. การเขียนสามเหลี่ยมด้านเท่า
การเขียนสามเหลี่ยมด้านเท่าตามความยาวที่กำหนดให้ มีวิธีการเขียนดังนี้
วิธีที่ 1
1. ให้ A และ B เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนรัศมีเท่ากับความยาว AB ตัดกันที่จุด C
2. ลากเส้น AC และ BC จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ABC ดังรูปที่ 2.19
รูปที่ 2.19 การเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า วิธีที่ 1
53
วิธีที่ 2
1. ใช้บรรทัดสามเหลี่ยม มุม 60 องศา เขียนเส้นทำมุม 60 องศา กับปลายเส้นด้าน A
และ ด้าน B ตัดกันที่จุด C
2. ลากเส้น AC และ BC จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ABC ดังรูปที่ 2.20
รูปที่ 2.20 การเขียนรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า วิธีที่ 2
2. การเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส
วิธีการเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสด้านเท่า ตามความยาวที่กำหนดให้ มีวิธีการเขียนดังนี้
วิธีที่ 1 มีวิธีการเขียนดังนี้
1. ที่จุด A หรือ B ลากเส้นตั้งฉากกับจุดใดจุดหนึ่ง โดยกางวงเวียนเท่ากับ AB เขียน
ส่วนโค้งให้เลยจุด A หรือ B ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมเขียนเส้นตั้งฉากกับจุด A หรือ B ที่จุด C
2. ใช้จุด Aและ B เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ AB เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด D ดังรูป
ที่ 2.21
รูปที่ 2.21 วิธีการสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วิธีที่ 1
วิธีที่ 2 มีวิธีการเขียนดังนี้
1. สร้างวงกลมให้มีความโตเท่ากับเส้นทแยงมุมของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่กำหนดให้
โดยการเขียนเส้นศูนย์กลางที่เส้น AB และ CD คำนวณหาด้านที่ 3 ของรูปสามเหลี่ยมก่อนก็ได้
2. ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมมุม 45 ลากต่อเส้น AC AD BC และ BD จะได้รูปสี่เหลี่ยม
จัตุรัสABCD ดังรูปที่ 2.22
54
รูปที่ 2.22 วิธีการสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส วิธีที่ 2
3. การสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า
วิธีการสร้างรูปห้าเหลี่ยมนั้นมีวิธีการสร้างโดยการแบ่งมุมที่ 72 องศาแล้ว ยังมีวิธีการ
สร้างที่ง่ายอีกวิธีหนึ่งดังนี้
1. สร้างวงกลมให้มีความโตเท่าที่กำหนด โดยกำหนดเส้นผ่าศูนย์กลางที่เส้น AB และ
CD โดยกำหนดจุดตัดที่จุด O
2. แบ่งครึ่งเส้น OB ที่จุด E
3. ใช้ E เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี EC เขียนส่วนโค้งตัดเส้น AO ที่จุด F
4. ใช้ C เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี CF เขียนส่วนโค้งตัดส่วนโค้งของวงกลมที่จุด G
5. ใช้ G เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี CG ซึ่งเท่ากับส่วนแบ่งของห้าเหลี่ยมส่วนที่ 1 และตัด
ส่วนโค้ง ของวงกลมจนครบรอบจะได้ 5 จุดที่จุด C
6. ลากเส้นต่อจากเส้นตัดส่วนโค้งของวงกลมจากจุด C ไป G และจากไปจุดตัดต่อๆไป
ตามลำดับต่อกันทั้ง 5 จุด จะได้ห้าเหลี่ยมด้านเท่าดังรูปที่ 2.23
รูปที่ 2.23 วิธีการสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า
55
4. การสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า
วิธีการสร้างรูปหกเหลี่ยมนั้นมีวิธีการสร้างดังนี้
1. สร้างวงกลมให้มีขนาดความโตเท่ากับเส้นทแยงมุมของรูปหกเหลี่ยมที่เส้นผ่าน
ศูนย์กลางPQ และ RS ดังรูป
2. เส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมใช้บรรทัดสามเหลี่ยม 30 องศา ทำมุมกับเส้น PQ ทั้ง
สองด้าน หรือใช้มุม 10 องศา ทำมุมกับแนวดิ่ง เขียนเส้นตัดกับเส้นรอบวงของวงที่จุด ABC และ D
ลากเส้นต่อจากจุดตัด AB BS SC CD DR และ RA ตามลำดับ จะได้รูปหกเหลี่ยม 3.
ด้านเท่าดังรูปที่ 2.24
รูปที่ 2.24 วิธีสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าภายในวงกลม
5. การสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า
วิธีการสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่านั้นมีวิธีการสร้างดังนี้
1. สร้างวงกลมเท่าขนาดความโตของรูปแปดเหลี่ยม
2. ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมมุม 45 องศา เขียนเส้นสัมผัสส่วนโค้งของวงกลมตรง
ตำแหน่งมุมเฉียง 45 องศา กับจุดศูนย์กลาง 4 เส้น
3. ใช้ไม้ที เขียนเส้นสัมผัสกับเส้นผ่าศูนย์กลางแนวดิ่งทั้งด้านล่างและดา้ นบน จะได้
จุดตัดกับเส้น 45 องศา ครั้งแรกที่จุด ABC และ D
4. ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมเขียนเส้นตั้งฉาก และสัมผัสเส้นผ่าศูนย์กลางแนวนอน จะได้
จุดตัดกับเส้น AB และ CD ที่ EF และ GH
5. ลากเส้นต่อจุดตามจุดตัดที่เกิดขึ้นทั้งหมดตามลำดับ AB BF FE ED DC CH HG
และ GA จะได้รูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า ดังรูปที่ 2.25
56
รูปที่ 2.25 วิธีสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า
6. การเขียนเส้นสัมผัสกับเส้นตรงที่ขนานกันและรัศมีที่กำหนดให้
วิธีการเขียนเส้นสัมผัสกับเส้นตรงที่ขนานกันและรัศมีที่กำหนดให้มีวิธีการสร้างดังนี้
1. ลากเส้นตรง AB ขนานกับเส้นตรง CD ห่างกันพอสมควร
2. ที่เส้น AB ลากเส้น BP ตั้งฉาก AB ให้ระยะห่าง BP เท่ากับ R
3. ลากเส้น XY ขนานกับ CD ให้ห่างจาก CD เท่ากับ R
ใช้ P เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ 2 R เขียนส่วนโค้งตัดเส้น XY ที่จุด Q 4.
5. ใช้ P และ Q เป็นจุดศูนย์กลางรัศมีเท่ากับ R เขียนส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรง AB และ
สัมผัสเส้นตรง CD โดยส่วนโค้งทั้งสองมาบรรจบกันที่จุด T จะได้เส้นสัมผัสเส้นตรงที่ขนานกัน
เท่ากับรัศมีที่กำหนดให้ตามต้องการ
รูปที่ 2.26 วิธีการเขียนเส้นสัมผัสกับเส้นตรงที่ขนานกัน
7. วิธีการเขียนวงรี
วงรีเกิดจากวงกลมที่วางเอียงไม่เป็นมุมฉาก ซึ่งมีวิธีการเขียนได้หลายวิธีดังนี้
วิธีที่ 1 การเขียนโดยใช้วงกลม 2 วง
1. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OC เขียนวงกลมวงเล็ก
2. ใช้ O เป็นจุดศูนย์กลางรัศมี OA เขียนวงกลมวงใหญ่
3. ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมมุม 60 องศา แบ่งส่วนโค้งของวงกลมทั้งสอง ออกเป็น 12
ส่วนเท่าๆ กันที่จุดA M N E F G B H I J K L ตามลำดับ
57
4. จากจุดแบ่งวงกลมใหญ่ ลากเส้นแนวดิ่งลงมาในส่วนบน และลากขึ้นในส่วนล่าง
5. จากจุดแบ่งวงกลมเล็ก ลากเส้นแนวนอนออกไปตัดกับเส้นดิ่งที่ลากไว้แล้วที่จุด P
Q R S T U V W ตามลำดับ
6. ใช้ Curve จับตามจุดตัดดังกล่าวเข้าด้วยกัน จะได้วงรีตามต้องการ
รูปที่ 2.27 วิธีการเขียนวงรีโดยใช้วงกลม 2 วง
วิธีที่ 2 การเขียนโดยใช้ส่วนแบ่งของด้านสี่เหลี่ยมผืนผ้า
1. สร้างสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้มีขนาดเท่ากับความยาวของ A B และ C Dโดยให้ผ่านจุด A
BC Dที่ E F G H ตามลำดับ
2. แบ่งเส้น EC CF GD DH ออกเส้นละ 4 ส่วนเท่าๆ กัน ที่จุด 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ
3. แบ่ง OC และ OD ออกเส้นละ 4 ส่วนเท่าๆ กัน ที่จุด 1 2 3 และ 4 ตามลำดับ
4. จากจุด A ลากเส้นไปยังจุด 1 บนเส้น EC และจากจุด B ลากผ่านจุด 1 บนเส้น OC
ไปบรรจบกับเส้นแรก จะได้จุดทางเดินของวงรีจุดแรก
5. จากจุด A ลากไปยังจุด 2 3 และ 4 บนเส้น EC และจากจุด B ลากผ่านจุด 2 3 และ
4 บนเส้น OC ไปบรรจบกับเส้นที่ลากไว้แล้ว จะได้จุดทางเดินของวงรีจุดต่อๆ ไปตามลำดับ ในส่วน
ด้านบนซ้าย
6. ในทำนองเดียวกัน จากจุด A ลากไปยังจุด 1 2 3 และ 4 บนเส้น OC และจากจุด B
ลากผ่านจุด 1 2 3 และ 4 บนเส้น CF ไปจรดกับเส้นที่ลากไว้ก่อนหน้าแล้วเช่นเดียวกัน จะได้จุดทางเดิน
ของวงรีโค้งในส่วนบนขวา
7. ให้ทำลักษณะเดียวกันตั้งแต่ข้อ 4 – 6 กับส่วนของเส้นในส่วนล่าง
8. ต่อจุดบรรจบที่เกิดขึ้นทั้งส่วนล่างและบน รวม 16 จุด จะได้วงรีดังรูปที่ 2.28
58
รูปที่ 2.28 วิธีการเขียนวงรีโดยใช้รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า
การเขียนภาพฉาย
การอ่านและเขียนแบบภาพฉายมีความสำคัญอย่างยิ่งในงานเขียนแบบ ภาพฉายที่เกิดขึ้นจาก
การเขียนจะช่วยบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของภาพได้ เพื่อให้ผู้ที่อ่านหรือผู้ผลิตชิ้นงานนั้นได้เข้าใจใน
รูปแบบของชิ้นงานต่างๆ และที่จะสามารถสื่อความหมายต่อไปยังผู้อื่นได้ถูกต้อง
ลักษณะของภาพที่มองเห็นกันในปัจจุบันนี้มี 2 ชนิดคือ
ภาพสองมิติ (Two Diamensions) 1.
ภาพสองมิติ เป็นภาพที่ประกอบด้วยมิติหรือแกนภาพ 2 แกน กล่าวคือ แกนตั้งและแกน
นอน เรียกว่า ความกว้าง ความยาว หรือความกว้าง ความสูง ซึ่งทั้งสองแกนนี้จะเป็นหลักในการ
สร้างภาพให้เกิดขึ้น โดยการสร้างเส้นขนานกับแกนทั้งสอง และมีระยะห่างเท่าที่ต้องการ จะได้ภาพ
เป็นภาพสองมิติ เช่น รูปสามเหลี่ยม รูปสี่เหลี่ยม ซึ่งภาพสองมิตินี้จะเป็นภาพแบนราบกับพื้น
ตารางที่ 2.3 แสดงรายละเอียดภาพสองมิติ
มิติ
ชื่อเรียก
ลักษณะแกน
การต่อแกน
เส้นขนาน
แกน
ภาพที่เกิด
1
2
แกนตั้ง
แกนนอน
59
รูปที่ 2.29 ตัวอย่างภาพสองมิติ
2. ภาพสามมิติ (Three Diamensions)
ภาพสามมิติเป็นภาพที่เขียนแล้วมีลักษณะคล้ายหรือเหมือนของจริงมากที่สุด คือภาพนั้นมี
แกนเพิ่มขึ้นอีก 1 แกน กล่าวคือมีความกว้าง ความยาว และความลึกหรือหนา
ตารางที่ 2.4 แสดงรายละเอียดภาพสามมิติ
มิติ
ชื่อเรียก
ลักษณะแกน
การต่อแกน
เส้นขนาน
แกน
ภาพที่เกิด
1
2
3
แกนตั้ง
แกนนอน
แกนหนา (แกนลึก)
รูปที่ 2.30 ตัวอย่างภาพสามมิติ
การเขียนภาพฉาย (Orthographic Projection)
การเขียนภาพฉายคือ การเขียนภาพสามมิติ ที่มองเห็นเพียงด้านใดด้านหนึ่งของภาพสามมิติ
แล้วนำภาพแต่ละด้านมาจัดเรียงให้อยู่ในระบบของการมองภาพฉายที่เป็นมาตรฐานสากล
60
การเกิดภาพฉายมีการเกิดอยู่ 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดในลักษณะการเกิดเงา กล่าวคือ เมื่อมีแสงมากระทบกับวัตถุแล้วเงาของวัตถุจะไป
ปรากฏที่ฉากรับภาพ หรือเปรียบเหมือนกับการใช้เครื่องฉายภาพยนตร์ฉายแสงผ่านแผ่นฟิล์มแล้วจะ
เกิดภาพปรากฏบนจอหรือฉากรับภาพนั้นเอง ดังรูปที่ 2.31
รูปที่ 2.31 การเกิดภาพฉายในลักษณะการเกิดเงา
เกิดในลักษณะการมองเห็นวัตถุ กล่าวคือ การที่เรามองเห็นอะไรได้นั้น เกิดจาก 2.
แสงกระทบวัตถุแล้วภาพของวัตถุนั้นสะท้อนเข้าตาเราจึงทำให้เกิดการมองเห็น โดยภาพที่ปรากฏนั้น
มีตาเป็นฉากรับภาพนั้นเอง ในลักษณะนี้จะเหมือนมีฉากใสมากั้นสายตาไว้นั้นเอง ดังรูปที่ 2.32
รูปที่ 2.32 การเกิดภาพฉายลักษณะแสงธรรมชาติของการมองเห็น
ภาพฉายมุมที่ 1 (First Angle Projection)
มุมที่ 1 คือ มุมที่เกิดขึ้นจากการแบ่งมุมรอบจุดศูนย์กลางหรือมุมภายในของวงกลม
คือ การแบ่งมุมทางการเขียนกราฟ สถิติ ซึ่งจะได้แกนภาพ 2 แกน คือ แกนตั้งและแกนนอน และ
แบ่งมุมภายในวงกลมออกเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กันเรียกว่า “จตุภาค” (Quadrant) ในแต่ละส่วนจะถูก
กำหนดไว้เป็นค่ามาตรฐาน คือ ส่วนที่ 1, 2, 3, และ 4 ดังแสดงในรูปที่ 2.33
61
แกนตั้ง (Y)
มุมที่ 2 มุมที่ 1
-,+ - ,+
แกนนอน (X)
-,- +,-
มุมที่ 3 มุมที่ 4
รูปที่ 2.33 การแบ่งค่ามุมทางกราฟ สถิติ
ภาพฉายมุมที่ 1 คือ ภาพฉายที่อ่านและเขียนมาจากการสมมติ ให้เอาวัตถุไปวางไว้
ในบริเวณส่วนที่ 1 ของส่วนแบ่งมุมดังกล่าว และสมมติแกนตั้งและแกนนอนในส่วนมุมนั้นเป็นฉาก
รับภาพ จะเห็นว่าในส่วนนี้ค่าทางเลขคณิตของแกนทั้งสองมีค่าเป็นบวกทั้งสองแกน ผลคูณทางเลข
คณิตมีค่าเป็นบวกด้วยในทางปฏิบัติจริงๆ แล้ว จะมีการสมมติการวางวัตถุไว้ 2 มุม คือ มุมที่ 1
และมุมที่ 3 ซึ่งจะได้กล่าวต่อไป ดังแสดงในรูปที่ 2.34
รูปที่ 2.34 ระนาบและการมองภาพบนระนาบของภาพฉาย
การเกิดภาพฉายมุมที่ 1 (First Angle Projection)
จากการที่เรามองภาพฉายในลักษณะของแสงเงาหรือแสงกระทบวัตถุแล้วเกิดภาพด้านหลัง
ของวัตถุโดยการวางวัตถุไว้ในมุมที่ 1 และสมมติแกนของมุมนั้นเป็นฉากรับภาพและให้มีฉากอีกฉาก
หนึ่งมารับด้านข้างขวามือของวัตถุ จะได้แสงเงาไปปรากฏบนฉากรับภาพทั้งสามฉากนั้นและเมื่อนำ
62
จากภาพสามมิติของวัตถุจะมีด้านอยู่ 6 ด้านที่สามารถเขียนได้ แต่ในทางปฏิบัติเราจะเขียนได้
เพียง 3 ด้านเท่านั้น เพราะว่าภาพที่ได้มาทั้งสามด้านก็ให้รายละเอียดที่ชัดเจนเพียงพอแล้ว หากมีบาง
แบบที่ไม่ชัดเจนก็ให้เขียนภาพภาพที่ต้องการเน้นเพิ่มเติมได้
รูปที่ 2.35 การเกิดภาพฉายมุมที่ 1
จากการคลี่ฉากรับภาพให้อยู่ในแนวระนาบจะได้ภาพฉายสามด้านตามต้องการ ในการเริ่มต้น
การอ่านและการเขียนภาพฉายนั้น ต้องรู้ตำแหน่งหลักที่จะอ่านแบบเสียก่อน ข้อกำหนดที่แน่นอนคือ
กำหนดให้ภาพด้านหน้า เป็นหลักในการเขียนภาพฉาย ส่วนอีก 2 ด้าน คือ ภาพด้านข้างและภาพ
ด้านบนนั้น จะหาได้จากการกำหนดภาพด้านหน้า ดงนั้นจึงมีข้อแนะนำในการเขียนภาพฉายดังนี้คือ
1. การยึดภาพด้านที่เห็นรายละเอียดชัดเจนที่สุดเป็นภาพด้านหน้า หรือภาพที่ถูกกำหนดให้
เป็นภาพด้านหน้า ดังรูปที่ 2.36
2. ภาพด้านข้าง ให้มองจากทางด้านซ้ายของภาพด้านหน้าที่กำหนด (ซ้ายมือผู้เขียน) แล้ว
63
นำไปเขียนไว้ที่ด้านขวามือของภาพด้านหน้า ดังรูปที่ 2.36
3. ภาพด้านบน ให้มองภาพด้านบนของวัตถุที่มองจากภาพด้านหน้า (โดยจินตนาการให้
ภาพด้านบนพลิกเข้าหาตัวเรา) และเขียนใต้ภาพหรือด้านล่างของภาพด้านหน้า ดังรูปที่ 2.36
รูปที่ 2.36 การเขียนภาพฉายมุมที่ 1
หลักการเขียนภาพฉายมุมที่ 1
ในการเขียนภาพฉายนั้นโดยทั่วไปจะเขียนเพียง 3 ด้านคือ ภาพด้านหน้า ภาพด้านข้าง และ
ภาพด้านบน ซึ่งจะมีหลักการในการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 โดยเขียนจากภาพสามมิติที่กำหนดให้ตามรูป
ที่ 2.37 ดังนี้
รูปที่ 2.37 ภาพสามมิติของชิ้นงานที่กำหนด
64
ในการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 มีหลักการหรือแนวปฏิบัติในการเขียนดังนี้
ตารางที่ 2.5 แสดงหลักการในการเขียนภาพฉายมุมที่ 1
ลำดับที่
รายละเอียด
ภาพแสดง
1
ให้ภาพเห็นรายละเอียดของแบบที่
ชัดเจนที่สุดหรือด้านที่กำหนดให้เป็น
ภาพด้านหน้า
2
ภาพด้านบนอยู่ด้านล่างและแนวดิ่ง
เดียวกันกับภาพด้านหน้า
3
ภาพด้านข้างต้องอยู่ด้านขวามือและ
แนวระดับเดียวกันกับภาพด้านหน้า
4
ความกว้างของภาพด้านบนต้องเท่ากับ
ความกว้างส่วนนั้นของภาพด้านข้าง
5
ความยาวของภาพด้านบนต้องเท่ากับ
ความยาวส่วนนั้นของภาพด้านหน้า
6
ความสูงของภาพด้านข้างเท่ากับความ
สูงส่วนนั้นของภาพด้านหน้า
65
7
ผิวงานของงานส่วนที่ขนานกับแนว
ระนาบของการฉายภาพ จะมีขนาดและ
รูปร่างที่แท้จริงของภาพที่ฉายไปใน
ระนาบนั้น
8
เส้นของงานที่ขนานกับแนวระนาบของ
การฉายภาพ จะเป็นเส้นความยาวที่
แท้จริงของงานที่ฉายไปบนภาพใน
ระนาบนั้น
9
เส้นของงานที่ตั้งฉากกับแนวระนาบ
ของการฉายภาพ จะปรากฎเป็นจุด
เมื่อฉายไปบนภาพในแนวระนาบนั้น
10
ผิวงาน (พื้นที่) ของภาพที่ตั้งฉากกับ
แนวระนาบของการฉายภาพ จะเป็น
เส้นเมื่อฉายไปบนภาพในแนวระนาบ
นั้น
จากหลักการเขียนภาพทั้ง 10 ข้อ ดังตารางที่ 2.5 จะได้ภาพฉายที่สมบูรณ์ ดังรูปที่ 2.38
รูปที่ 2.38 ภาพฉายตามหลักการเขียนตามตารางที่ 2.5
66
การเขียนภาพฉายมุมที่ 3
ภาพฉายมุมที่ 3 เป็นลักษณะการเกิดภาพแบบธรรมชาติของการมองเห็น คือ เมื่อแสงกระทบ
วัตถุแล้วแสงนั้นสะท้อนเข้าตาจึงทำให้เกิดการเห็นภาพ แต่ก่อนที่แสงจะสะท้อนเข้าตา ให้นำฉากรับ
ภาพไปกั้นรับไว้ด้านหน้าก่อนที่ภาพนั้นจะเข้ามาปรากฏในม่านตา จึงเห็นเป็นภาพด้านนั้นๆ ของวัตถุ
รูปที่ 2.39 ภาพลักษณะการวางวัตถุในมุมที่ 3
ในการเกิดภาพฉายมุมที่ 3 นั้นจะเกิดในลักษณะการมองภาพด้านหน้าจากทางซ้ายมือและ
ด้านข้างจากทางขวามือหรืออ่านเวียนขวา เพราะจะเห็นลักษณะของการมองเห็นหรือเห็นลักษณะโดย
ธรรมชาติที่แสงกระทบวัตถุแล้วสะท้อนเข้าตา
รูปที่ 2.40 การมองเห็นภาพและภาพฉายมุมที่ 3
หลักการในการเขียนภาพฉายมุมที่ 3
การเขียนภาพฉายมุมที่ 3 จะมีวิธีการเขียนคล้ายกับการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 จะแตกต่างกัน
ตรงที่การมองภาพ หรือพลิกภาพ ซึ่งข้อแตกต่างของการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 และ ภาพฉายมุมที่ 3
67
แสดงได้ดังตารางที่ 2.6
ตารางที่ 2.6 แสดงความแตกต่างของการเขียนภาพฉายมุมที่ 1 กับมุมที่ 3
ข้อแตกต่าง
มุมที่ 1
มุมที่ 3
การวางวัตถุ
วางในมุมที่ 1
วางในมุมที่ 3
ลักษณะการเกิดภาพ
แสงกระทบวัตถุปรากฏบนจอ
แสงกระทบวัตถุสะท้อนเข้าตา
การมองภาพ
จากด้านขวาไปซ้าย
จากด้านซ้ายไปขวา
การวางตำแหน่งภาพ
ภาพด้านหน้า ขวามือเป็นหลัก
ภาพด้านหน้าซ้ายมือเป็นหลัก
ภาพด้านข้าง
มองทางด้านซ้ายมือ เขียนด้านขวามือ
เป็นภาพด้านหน้า
มองทางด้านขวามือ เขียนด้าน
ซ้ายมือเป็นภาพด้านหน้า
ภาพด้านบน
พลิกภาพด้านหน้าเข้าหาตัว เขียนภาพ
แนวล่าง ภาพด้านหน้า
พลิกภาพด้านหน้าเข้าหาตัว เขียน
ภาพแนวเหนือ ภาพด้านหน้า
การสร้างเส้นฉาย
จากภาพด้านหน้า และด้านข้างมุมล่าง
ขวามือ
จากภาพด้านหน้า และด้านข้างมุม
บนขวามือ
รูปที่ 2.41 การฉายภาพมุมที่ 1 รูปที่ 2.42 การฉายภาพมุมที่ 3
จากการมองภาพฉายทั้ง 2 ระบบ จะเห็นได้ว่าจากวัตถุเดียวกันสามารถเขียนภาพฉายออกมา
ต่างกันได้ ดังนั้นจึงต้องมีข้อกำหนดโดยใช้สัญลักษณ์กำกับไว้ ดังรูปที่ 2.43 ถ้าเขียนภาพฉายในระบบ
เดียวกันจะไม่ต้องเขียนสัญลักษณ์กำกับ เว้นแต่แบบงานนั้นจะใช้ทั้ง 2 ระบบรวมกัน แต่ในทางปฏิบัติ
จริงจะเขียนแบบเพียงระบบใดระบบหนึ่งเพียงระบบเดียว เท่านั้น
รูปที่ 2.43 สัญลักษณ์ในการเขียนภาพฉายทั้ง 2 ระบบ
68
รูปที่ 2.44 สัญลักษณ์ประกอบแบบภาพฉายมุมที่ 3
เทคนิคการเขียนภาพฉาย
ในการเริ่มต้นการเขียนภาพฉาย ต้องกำหนดภาพด้านหน้าเป็นหลัก แล้วจึงหาภาพด้านข้าง
หรือภาพด้านบนต่อไป โดยอาศัยภาพด้านหน้าในการอ่านและเขียนให้ถูกต้อง ไม่มีการกำหนดว่า
จะต้องเป็นภาพด้านข้างก่อนหรือด้านบนก่อน ซึ่งขึ้นอยู่กับผู้เขียนหรือชิ้นงานที่แสดงให้เห็น ภาพด้าน
ใดที่ชัดเจนกว่ากันก็จะนำด้านนั้นมาเขียนก่อนได้ เพราะไม่มีข้อกำหนดที่ชัดเจนแน่นอนลงไป
การใช้เส้นฉายด้วยเส้นตัดตั้งฉาก
การหาภาพด้านข้างและด้านบนโดยใช้เส้นฉายด้วยเส้นตัดตั้งฉาก อาศัยเส้นเอียง 45 องศา เข้า
มาช่วยเขียนได้ตามลำดับดังนี้
1. กำหนดภาพด้านหน้า เมื่อต้องการเขียนภาพด้านข้างให้ลากเส้นร่างตามจุดตัดต่าง ๆ ใน
แนวนอนที่ภาพด้านหน้าทุกจุด ให้ได้ระยะประมาณขนาดของภาพด้านข้าง หรือเมื่อต้องการเขียนภาพ
ด้านบน ให้เขียนเส้นร่างตามจุดตัดต่าง ๆ ในแนวดิ่งที่ภาพด้านหน้าทุกจุด ให้ได้ระยะประมาณความสูง
ของภาพด้านบน
การเขียนภาพด้านหน้ากับด้านข้าง การเขียนภาพด้านหน้ากับภาพด้านบน
รูปที่ 2.45 การเขียนเส้นฉายจากภาพด้านหน้า
69
2. เขียนเส้นอ้างอิง 45 องศา และลากเส้นสร้างจากจุดตั้งฉากกับข้อ 1 (เส้นแนวดิ่งตามขนาดใน
ภาพด้านข้าง หรือเส้นแนวนอนในด้านบน)
รูปที่ 2.46 เส้นอ้างอิง 45 องศา และเส้นร่างภาพด้านข้างหรือด้านบน
3. ลากเส้นสร้างตั้งฉากจากจุดตัดที่เส้นอ้างอิง 45 องศา ไปยังภาพที่เหลือ (ภาพด้านหน้า หรือ
ภาพด้านบน)
รูปที่ 2.47 การเขียนเส้นร่างในการสร้างภาพฉาย
การใช้เส้นฉายด้วยเส้นรัศมี
การเริ่มต้นเขียนจะเหมือนกับวิธีที่กล่าวมาแล้ว แต่การใช้เส้นอ้างอิงจะใช้เส้นรัศมีแทนเส้นตั้ง
ฉาก การใช้เส้นรัศมีจะใช้เส้นจากจุดตัดต่าง ๆ ในภาพด้านข้าง หรือภาพด้านบนที่เขียนไว้แล้ว เป็นรัศมี
ในการเขียนขนาดต่าง ๆ ของอีกภาพหนึ่งที่ต้องการ
รูปที่ 2.48 การฉายภาพด้วยเส้นรัศมี
70
ตารางที่ 2.7 แสดงสรุปหลักการเขียนภาพฉาย
ด้านของภาพ
ทิศการมอง
ตำแหน่งการเขียน
ด้านหน้า
มองตรงตั้งฉากกับภาพที่กำหนด (หรือด้านที่เห็น
ได้ชัดเจนที่สุด) เป็นหลักในการเขียนภาพฉาย
อยู่มุมบนด้านซ้ายมือ
ด้านข้าง
มองจากซ้ายมือของภาพด้านหน้า (ที่ใช้เป็นหลัก)
หรือพลิกจากทางซ้ายมือเข้ามาตั้งฉากกับสายตา
อยู่ทางด้านขวามือของภาพ
ด้านหน้า
ด้านบน
มองจากภาพด้านบนของภาพด้านหน้าที่กำหนด
หรือพลิกด้านบนของวัตถุให้ตั้งฉากกับสายตา
อยู่ด้านล่างของภาพด้านหน้า
การเขียนภาพสามมิติ
ภาพสามมิติ คือ ภาพที่ประกอบไปด้วยแกนของภาพ 3 แกน คือ ความกว้าง ความยาว และ
ความสูง ทำมุมซึ่งกันและกันให้เห็นในลักษณะคล้ายรูปทรงชิ้นงานที่แท้จริง ซึ่งมองเห็นภาพได้ชัดเจน
และเข้าใจง่าย การเขียนภาพสามมิติแบบง่าย ๆ มีอยู่ 3 ชนิดคือ
1. ภาพไอโซเมตริก (Isometric Drawing) ภาพไอโซเมตริกเป็นภาพสามมิติที่มองเห็นทั้ง 3
ด้าน โดยเกิดจากการยกแกนภาพของวัตถุให้เป็นมุมเท่าๆ กัน ในลักษณะรายละเอียดของการเกิดภาพ
ดังรูปที่ 2.49
รูปที่ 2.49 การเกิดภาพไอโซเมตริก
การเขียนภาพไอโซเมตริก
ในการเขียนภาพไอโซเมตริกนั้นจะเป็นการเขียนภาพจากแบบภาพฉาย หรือภาพ 2 มิติมาเป็น
ภาพ 3 มิติ ในการเขียนนั้นต้องอ่านภาพฉายให้ถูกต้อง แล้วจึงจินตนาการภาพที่เป็นจริงจากภาพ 3
มิติ ก่อนจึงจะเริ่มลงมือเขียนแบบร่างด้วยมือเปล่า ลักษณะวิธีเขียนตามภาพฉายที่กำหนด ดังรูปที่ 2.50
โดยกำหนดภาพฉาย 3 ด้านของชิ้นงานมาให้ มีลำดับการเขียนดังนี้
71
รูปที่ 2.50 ภาพฉายที่กำหนดให้เขียนเป็นภาพไอโซเมตริก
1. สร้างแกนไอโซเมตริกทั้ง 3 แกน ดังรูปที่ 2.51 (ก)
2. สร้างรูปกล่องสี่เหลี่ยมขนาดกว้าง 20 มม. ยาว 40 มม. และสูง 20 มม. รูปที่ 2.51 (ข)
3. จากภาพฉายในด้านหน้า นำเส้นและรายละเอียดของภาพเขียนลงในภาพด้านหน้าของรูป
กล่องโดยวัดความสูงจากจุด A สูง10 มม. และยาวจากจุด A 20 มม. และขนาดยาว 10 มม. กว้าง 10
มม. อีกระยะหนึ่งที่จุด P,Q ดังรูปที่ 2.51 (ค)
4. จากภาพด้านบนวัดระยะของภาพด้านบนซึ่งทับกับจุด A มีระยะ 20 มม. และลากเส้นใน
แนวดิ่งซึ่งจะตัดกับเส้นในภาพด้านหน้าที่จุด X ดังรูปที่ 2.51 (ง)
5. ลากเส้นขนาดตามเส้นแกนไอโซเมตริกในภาพด้านหน้าและภาพด้านข้าง และภาพ
ด้านข้างที่จุดซึ่งเขียนไว้แล้วมาตัดกันที่จุด Y ลากเส้นตั้งฉากที่จุด Y ไปตัดกับเส้น 20 มม. ที่ภาพ
ด้านบนจะเห็นเป็นรูปร่างของชิ้นงานและลากเส้นขนานกับแกน ผ่านที่จุด P และ Q ทั้ง 2 เส้น ตัดกัน
ที่ R และ S ดังรูปที่ 2.51 (จ)
6. ลากเส้นเต็มหนักตามแนวรูปชิ้นงานจริงจะได้ภาพไอโซเมตริก ดังรูปที่ 2.51 (ฉ)
รูปที่ 2.51 การเขียนภาพไอโซเมตริก
72
2. ภาพออบลิก (Oblique Projection) เป็นภาพที่มองจากภาพฉายเช่นเดียวกับภาพไอโซ
เมตริก แต่ลักษณะการเกิดภาพออบลิกเปรียบเสมือนการผลักหรือเย้แกนของภาพให้เอียงไปด้านใด
ด้านหนึ่งแล้วยกด้านท้ายให้ ดังรูปที่ 2.52 ซึ่งเมื่อมองภาพออบลิกนี้แล้วจะเห็นว่าแกนของภาพที่ถูก
ผลักออกไปให้เห็นในด้านที่ 2 นั้นยาวกว่าปกติ ก็เป็นเพียงภาพลวงตาเท่านั้น เราเรียกภาพออบลิก
ลักษณะนี้ว่า “คาวาเลียร์” (Cavalier) ดังรูปที่ 2.53 (ก) ในการปรับลักษณะภาพที่จะมองแล้วเห็นเป็น
ภาพคล้ายของจริงมากขึ้น ก็ให้ลดขนาดความยาวทางด้านที่ถูกผลักลงครึ่งหนึ่งจากความยาวจริง เรา
เรียกภาพออบลิกนี้ว่า “คาบิเนต” (Cabinet) ดังรูปที่ 2.53 (ข)
รูปที่ 2.52 การเกิดภาพออบลิก
รูปที่ 2.53 ภาพออบลิกทั้ง 2 ประเภท
การเขียนภาพออบลิก
การเขียนภาพออบลิกนั้นมีวิธีการเขียนเช่นเดียวกันกับภาพไอโซเมตริก จะแตกต่างกันที่แกน
ภาพ ออบลิกซึ่งมีแกนเอียงเพียงแกนเดียว โดยเริ่มต้นการเขียนจากภาพด้านหน้าซึ่งจะชัดเจนกว่า
และเริ่มจากโครงร่างของกล่องเป็นพื้นฐานโดยเฉพาะรูปทรงเหลี่ยม ดังรูปที่ 2.54 และรูปที่ 2.55
73
รูปที่ 2.54 ภาพฉายของวัตถุที่จะเขียนภาพออบลิก
รูปที่ 2.55 วิธีการเขียนภาพออบลิก
ในการสร้างภาพไอโซเมตริกและภาพออบลิกนั้น จะมีวิธีการสร้างที่เหมือนกันดังที่ได้กล่าว
มาแล้วข้างต้น แต่จะแตกต่างกันเล็กน้อยที่มุมเท่านั้น ลักษณะการสร้างภาพออบลิกดูจะง่ายกว่า โดย
จะเปรียบเทียบให้เห็นได้ชัดเจน ดังรูปที่ 2.56
74
รูปที่ 2.56 เปรียบเทียบภาพไอโซเมตริกกับภาพออบลิก
3. ภาพเปอร์สเปกตีฟ (Perspective Projection) หรือภาพทัศนียภาพ
ภาพเปอร์สเปกตีฟเป็นภาพคล้ายของจริงในลักษณะของการมองไกล ตัวอย่างเช่น การมอง
เสาไฟฟ้าตามถนนจะเห็นว่าเสาต้นแรกสูง เสาต้นท้ายสุดจะต่ำสุดเป็นจุดที่ติดพื้นระดับ หรือการมอง
รางรถไฟที่คู่ขนาน เมื่อมองไปไกลสุดจะเห็นเป็นรูปปลายแหลม ดังรูปที่ 2.57
รูปที่ 2.57 ภาพเปอร์สเปกตีฟ
การบอกขนาด
รายละเอียดที่จะขาดไม่ได้เลยในงานเขียนแบบก็คือ การกำหนดขนาดหรือการบอกขนาดของ
ชิ้นงานในมิติต่างๆ ทั้งนี้เพื่อให้ได้งานตามขนาดที่ต้องการทั้งความกว้าง ความยาว และความสูง ในการ
กำหนดขนาดต่างๆ จะต้องประกอบไปด้วยเส้นให้ขนาด เส้นช่วยให้ขนาด และสัญลักษณ์แสดง
75
องค์ประกอบของการบอกขนาด
มีองค์ประกอบในการบอกขนาดของแบบงานแต่ละแบบ ไม่ว่าจะเป็นภาพฉาย หรือภาพสาม
มิตินั้นได้แก่
1. เส้นช่วยให้ (บอก, กำหนด) ขนาด
2. เส้นให้ (บอก, กำหนด) ขนาด
3. หัวลูกศร
4. ตัวเลข ตัวอักษร
5. สัญลักษณ์บอกลักษณะ รูปร่าง ผิวงาน และอื่นๆ
6. คำสั่งพิเศษอื่นๆ
รูปที่ 2.58 องค์ประกอบของการบอกขนาด
องค์ประกอบของการให้ขนาดต่างๆ ที่กล่าวมานั้น ช่างผู้เขียนแบบต้องเขียนให้ขนาดให้
ถูกต้องตามกฎเกณฑ์และหลักการ หรือถูกต้องตามมาตรฐานสากลในมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย
(มอก. 210 - 2520) ได้กำหนดวิธีการให้มีขนาดมิติต่างๆ ไว้อย่างชัดเจน โดยแยกสรุปได้ดังนี้
76
1. เส้นช่วยให้ (บอก,กำหนด) ขนาด มีข้อกำหนดในการเขียนดังนี้
1. เขียนด้วยเส้นเต็มบาง
2. ต้องลากต่อจากขอบแบบโดยไม่ต้องเปิด เส้น
ขอบแบบกับเส้นช่วยให้ขนาด
3. เขียนให้เลยจากปลายลูกศรประมาณ 2 มม.
4. เมื่อต้องการใช้เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นเส้นช่วยให้
ขนาด ให้ลากเส้นเต็มบางต่อจากเส้นศูนย์กลางออกไป
5. ทิศทางต้องตั้งฉากกับขอบงาน แต่ถ้าจำเป็นอาจ
ใช้เส้นเอียงได้ โดยมุมเอียง 60 องศา และต้องขนานกับ
ขอบแบบ
รูปที่ 2.59 เส้นช่วยให้ขนาด
2. เส้นให้ (บอก, กำหนด) ขนาดมีข้อกำหนดในการเขียนดังนี้
1. เขียนด้วยเส้นเต็มบางและขนาดกับขอบแบบ
2. การให้ขนาดเส้นแรกควรห่างจากขอบแบบ
8-10 มม.
3. ขนาดที่สั้นที่สุดให้อยู่ใกล้แบบที่สุดเส้นที่ยาว
ถัด ๆ ไปให้อยู่ถัด ๆ ไปตามลำดับ
4. เส้นให้ขนาดที่ต่อจากเส้นแรกให้ห่างจากเส้นแรก
5-7 มม. ในแบบเดียวกันต้องให้ห่างเท่ากันทุกเส้น
5. ที่ปลายเส้นทั้ง 2 ข้าง ต้องมีหัวลูกศรระบายทึบ
6. ในกรณีที่พื้นที่แคบ ให้เขียนเส้นให้ขนาดผ่านหัว
ลูกศรและให้ขนาดในช่องขนาดนั้นหากไม่สามารถเขียนได้
ให้เขียนไว้ด้านนอกช่องด้านขวามือ
7. เส้นให้ขนาดต้องไม่อยู่ในแนวเส้นแสดงรอยตัด
หรือในบริเวณมุม 30 องศา
รูปที่ 2.60 การเขียนเส้นให้ขนาด
77
3. หัวลูกศร มีข้อกำหนดในการเขียนดังนี้
1. ขนาดของหัวลูกศรให้มีความสูง : ความยาวเป็น
1:3 หรือเขียนเป็นมุม 15 องศา
2. ต้องเป็นสัดส่วนกับขนาดของเส้นเต็มหนักของ
แบบนั้นๆ หรืออนุกรมมาตรฐานของกลุ่มเส้น
3. ถ้าขนาดระหว่างเส้นบอกขนาดเรียงต่อเนื่องให้
กัน (ขนาดแบบลูกโซ่) ตำแหน่งภายในอาจใช้จุดแทนหัว
ลูกศร
รูปที่ 2.61 การเขียนหัวลูกศร
4. ตัวเลข ตัวอักษร มีข้อกำหนดในการเขียนดังนี้
1. ต้องให้เป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรมไทย
ในเรื่องเส้นและตัวอักษร (ในบทที่ 3 และบทที่ 4) เช่น
กลุ่มเส้น 0.5 กำหนดขนาดและตัวอักษรขนาด 3.5 มม.
ความหนาเส้น 0.35 มม. เขียนบอกหมายเลขชิ้นงาน 5
มม.
2. ตัวเลขบอกค่าความคลาดเคลื่อน (พิกัดความเผื่อ
หรือค่าเบี่ยงเบน) ให้มีขนาดเล็กกว่าตัวเลข ตัวอักษรที่
กำหนดขนาดแบบ ในกลุ่มเส้น 0.5 ใช้ขนาด 2.5 และ
ขนาดเส้น 0.25 มม.
3. การเขียนตัวอักษรให้มีขนาดเท่ากับตัวเลขกำหนด
ขนาด โดยใช้ขนาดเท่ากันทั้งแบบ
รูปที่ 2.62 การเขียนตัวเลข ตัวอักษร
5. การเขียนสัญลักษณ์อย่างง่าย
สัญลักษณ์ในงานเขียนแบบในแต่ละสาขาวิชาชีพมีความแตกต่างกันออกไปในความหมายและ
การใช้กำหนด เช่น พื้นที่หน้าตัดของชิ้นงาน ความเรียบของผิวงาน เป็นต้น
78
รูปที่ 2.63 ตัวอย่างการเขียนสัญลักษณ์ในแบบงานอย่างง่าย
6. การกำหนดคำสั่งพิเศษเพิ่มเติม
การกำหนดคำสั่งพิเศษเพิ่มเติม การกำหนดคำสั่งพิเศษในแบบงาน บางครั้งมีความจำเป็นต้องใช้
เพราะช่วยในการทำงานได้เร็วขึ้น และทำให้ประหยัดเวลาในการเขียน เขียนง่าย เข้าใจง่าย ซึ่งจะ
ส่งผลต่อการผลิตที่รวดเร็วอีกด้วย
รูปที่ 2.64 การกำหนดรายละเอียดด้วยคำสั่งพิเศษ
หลักการกำหนดขนาด
ในการกำหนดขนาด นอกจากข้อกำหนดในรายละเอียดเฉพาะขององค์ประกอบสำหรับการ
กำหนดขนาดแล้ว ในการเขียนยังต้องคำนึงถึงความถูกต้องในกฎเกณฑ์หรือหลักการดังต่อไปนี้
1. การเขียนกำหนดขนาดในช่องของขนาดต่างๆ ของงานในแต่ละด้าน ต้องอ่านได้ในแนวตั้ง
และอ่านในลักษณะเวียนขวาเสมอ
79
2. ให้ขนาดในด้านที่เห็นรายละเอียดได้ชัดเจน
หรือไม่ให้ขนาดในด้านที่เห็นเป็นเส้นประ ยกเว้นในกรณี
ที่จำเป็นจริงๆ
3. ในแบบงานเดียวกันที่เห็นในหลายด้าน จะให้
ขนาดในด้านที่เห็นได้ชัดเจนเพียงครั้งเดียว
4. ให้ขนาดในที่ที่ว่างพอ และให้ไว้นอกภาพที่เขียน
เสมอ ในกรณีที่จำเป็นจริงๆ อนุโลมให้สามารถให้ขนาดใน
แบบได้
5. ในแบบงานที่มีรูปทรงสมมาตรกันและไม่
ต้องการให้เส้นให้ขนาดซ้อนกันหลายๆ เส้น หรือไม่
ต้องการลากยาวตลอด ให้ใช้เส้นขนาดยาวกว่าครึ่งหนึ่งของ
ขนาดและแสดงลูกศรเพียงด้านเดียว
6. ขนาดของส่วนที่ไม่ได้เขียนตามมาตราส่วน ให้
ขีดเส้นใต้ขนาดนั้นไว้ และขนาดที่เป็นความต้องการของ
ลูกค้าให้ใส่วงรียาวไว้ที่ตัวเลขขนาด
7. การให้ขนาดของขอบเอียงจะให้เป็นค่ามุม หรือ
ให้ที่ขนาดบนสุดตรงจุดเริ่มต้นเอียง
8. การเขียนตัวเลขบอกขนาดในแบบเดียวกันต้องมี
ขนาดเท่ากันตลอด และต้องอยู่ในมาตรฐานของกลุ่มเส้น
9. ปลายของลูกศรต้องไม่สัมผัสโดยตรงที่มุมหรือ
ขอบของชิ้นงาน
10. พยายามหลีกเลี่ยงการกำหนดขนาดแบบลูกโซ่
หรือแบบต่อเนื่อง จะให้ได้ในกรณีที่กำหนดค่าพิกัดความ
เผื่อที่แน่นอนเท่านั้น
11. ในการให้ขนาดควรพิจารณาลักษณะการ
ทำงาน ว่าต้องทำได้อย่างรวดเร็วและง่ายต่อการอ่านแบบ
ก่อนให้ขนาด ควรพิจารณาเส้นบรรทัดฐานการทำงาน
และให้ขนาดขนานกันไปเรียงตามลำดับในที่นี้เส้น A และ
B เป็นเส้นบรรทัดฐาน
12. งานที่มีสัณฐานสมมาตรกันควรใช้เส้น
ศูนย์กลางเป็นเส้นบรรทัดฐาน
รูปที่ 2.65 การกำหนดขนาด 13. ไม่ใช้เส้นผ่านศูนย์กลางเป็นเส้นช่วยให้ขนาด
80
การให้ขนาดรัศมีส่วนโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลาง มุม และสัญลักษณ์อื่น ๆ
1. เส้นให้ขนาดรัศมีส่วนโค้ง เส้นผ่าศูนย์กลาง ควร
เขียนเอียงเป็นมุม จะไม่เขียนในแนวดิ่ง หรือแนวระดับ
2. การกำหนดขนาดรัศมี ให้เขียนหัวลูกศรเพียง
ข้างเดียว และปลายลูกศรต้องชนกับขอบส่วนโค้งพอดี
3. ต้องมีตัวอักษร R อยู่หน้าตัวเลขบอกขนาดเสมอ
4. สัญลักษณ์ส้นผ่าศูนย์กลาง (∅) เส้นเอียง (/)
เอียงประมาณ 75 องศา กับแนวระดับหรือ 15 องศา กับ
แนวดิ่ง
5. สัญลักษณ์ส้นผ่าศูนย์กลาง (∅) ต้องวางไว้หน้า
ตัวเลขเสมอ
6. การวางตัวเลขกำหนดขนาดในแนวเอียง ให้
เขียนในลักษณะที่สามารถอ่านค่าตัวเลขได้ตามตำแหน่งที่
กำหนด ควรหลีกเลี่ยงในแนว 30 องศา หรือที่ระบายด้วย
เส้นตัด
7. การให้ขนาดตำแหน่งของรูเจาะหรือวงกลม ควร
ให้ขนาดระยะศูนย์กลางห่างจากขอบของชิ้นงานทั้ง 2 แกน
8. ในการกำหนดตำแหน่งรูเจาะที่สมมาตรกัน ควร
ใช้เส้นผ่าศูนย์กลางเป็นบรรทัดฐาน
9. ในกรณีที่รูเจาะต่อเนื่องกันหลายๆ รู ควร
กำหนดระยะห่างของรูเจาะที่เส้นผ่าศูนย์กลาง
10. การกำหนดขนาดมุม อนุโลมให้ใช้เส้นขอบ
แบบงานเป็นเส้นช่วยให้ขนาดได้เฉพาะแบบที่มีแขนของ
มุมยาวมากๆ แต่ถ้าหลีกเลี่ยงได้ก็ควรหลีกเลี่ยง
11. การกำหนดขนาดปลายที่ลบมุมหรือลบคม
ชิ้นงาน (Chamfer) ให้กำหนดขนาดได้ 2 ลักษณะดังรูป
12. การบอกขนาดรูเจาะที่มีขนาดเท่า ๆ กัน หลาย
ๆ ช่วง หรือมีส่วนเหมือนกันหลาย ๆ ส่วน การให้ขนาดจะ
ใช้วิธีอย่างง่ายก็ได้
13. ถ้าจะให้รู้ระยะห่างระหว่างรูเจาะทุกรู (Pitch)
ให้เขียนไว้ช่วงหนึ่งช่วงใดก็ได้
81
14. การให้ขนาดแนวตั้งและแนวนอน ให้เริ่มจาก
จุดอ้างอิง (บรรทัดฐาน) จุดหนึ่งจุดใด หรือจะแจกแจงเป็น
ตารางตามแกนสมมตินั้นก็ได้
15. การบอกขนาดในภาพประกอบ ให้แยกเส้นให้
ขนาดออกจากกันเป็นชุดๆ เท่าที่จะทำได้
16. ในการกำหนดขนาดรูเจาะยาว ให้กำหนดที่
ระยะห่างของจุดศูนย์กลาง และความโตของวงกลม หรือที่
ขอบส่วนโค้งของรูเจาะนั้น
17. การให้ขนาดในภาพสามมิติ ให้เขียนเส้นช่วย
ให้ขนาดตั้งฉากกับขอบแบบ และเส้นให้ขนาดต้องขนาน
กับแกนของภาพนั้นๆ
18. การกำหนดขนาด ให้คำนึงถึงความยากง่ายใน
กระบวนการผลิตเป็นหลัก
รูปที่ 2.66 การให้ขนาดรัศมีส่วนโค้ง
เส้นผ่าศูนย์กลาง มุม และสัญลักษณ์อื่นๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น